http://thaicursor.blogspot.com  getcode

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) . 2545. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.srithai.com/
E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด
สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็น
คนเดียวหรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้
สามารถติดต่อสื่อสาร ระหว่าง กันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา
โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้ เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่ายเขาก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้ว ความสะดวกเหล่านี้ทำให้นักวิชาการ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับ
อาจารย์ หรือ เพื่อน นักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อ
สื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใด ของมุมโลก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่อง ของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียน เป็นราย บุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนา สังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัย รูปแบบหนึ่ง ที่มีความ สำคัญ คือ 1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค 2.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ตาม 3. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลาย ๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลา ส่งให้ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน 4. การส่งจดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่ง จดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง
5. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก
โปรแกรมของ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้งก็สามารถเก็บข้อความ ไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จากจอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย 6. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถที่จะถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ 7. ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่า
ทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุด
เมื่อทุก บ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลก ก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงาน
ตามสำนักงาน หรือสถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงาน
ทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถสร้างฟอร์ม e-mail ไว้ให้เพื่อความสะดวกในการส่งข้อมูล
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง
สามารถแบ่งการใช้อีเมล์ตามลักษณะของการให้บริการได้กว้างๆ 3 ลักษณะคือ
อีเมล์สำนักงานเป็นบัญชีการใช้บริการรับ/ส่งอีเมล์ที่หน่วยงาน หรือสำนักงานของผู้ใช้เป็นผู้จัดทำและให้บริการ มีจุดเด่นคือ บ่งชี้ถึงหน่วยงานสังกัดของผู้ใช้ เช่น อีเมล์ของบุคลากรในเนคเทค จะอยู่ในรูปของ ชื่อบุคคล @nectec.or.th ทำให้ทราบได้ทันทีว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในหน่วยงานใด
อีเมล์โดย ISPผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายท่าน คงไม่มีอีเมล์ที่จัดให้บริการโดยสำนักงาน เนื่องจากความไม่พร้อมของสำนักงานหรือหน่วยงานที่ต้นสังกัด ทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ เมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตจาก ISP ส่วนมาก ISP ก็จะให้บริการอีเมล์ด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถมีอีเมล์ที่ให้บริการโดย ISP เพื่อใช้งานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอีเมล์แบบนี้ มักจะมีจุดอ่อน คือ
  • ไม่บ่งชี้สถานภาพของบุคคล หรือหน่วยงาน
  • อายุการใช้บริการไม่ยาวนาน โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะซื้อบริการที่ถูกที่สุด ดังนั้นเมื่อหมดอายุกับ ISP รายหนึ่ง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นอีกราย (ที่ราคาถูกกว่า) ทำให้อีเมล์เดิมถูกยกเลิกไปทันที ซึ่งเป็นภาระในการติดต่อสื่อสารได้
อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป หน่วยงานหรือเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ให้บริการบัญชีอีเมล์ฟรีสำหรับผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมาก จึงเลือกใช้อีเมล์ลักษณะนี้ เนื่องจากสมัครได้ง่าย ฟรี และใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา
รูปแบบของ e-Mail Address
บัญชีชื่อ @ โดเมนเนมของหน่วยงานหรือผู้ให้บริการ
เช่น นายสมชาย เป็นพนักงานของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายสมชาย คือ somchai@nectec.or.th (ข้อมูลสมมติ)
นายวินัย เป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายวินัย คือ vinai@ku.ac.th
การแจ้งอีเมล์ให้กับผู้อื่น มีข้อควรระวังดังนี้
  • ระบุตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็กให้ชัดเจน เพราะระบบอินเทอร์เน็ต มักจะถือว่าตัวอักษรตัวใหญ่และตัวเล็ก เป็นคนละตัวกัน เช่น Vinai ไม่เหมือนกับ vinai เป็นต้น
จะต้องระบุให้ครบทั้งชื่อบัญชี เครื่องหมาย @ และโดเมนเนม
อินเตอร์เน็ตคืออะไร
อินเตอร์เน็ต (Internet) คงจะเป็นคำที่คนแทบทุกคนทั่วโลกรู้จักคุ้นเคยกันดี แต่ก็ไม่อาจทราบชัดเจนว่าอินเตอร์เน็ตคืออะไรกันแน่ และมีอิทธิพลต่อชีวิตเราในโลกอย่างไร
อินเตอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยเครือข่ายย่อย ๆ จำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันจนมีเครือข่ายที่มีขนาดมหึมาเพื่อประโยชน์ ในการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ โดยผ่านผู้ให้บริการกับเครือข่ายทั่วโลก
อินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่คลอบคลุมเนื้อหาแทบทุกบริษัท และเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้เครือข่ายได้ค้นดว้าข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถท่องเที่ยวไปในซุปเปอร์ไฮเวย์อิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Super Highway) ไปยังต่างประเทศแบบออนไลน์ด้วยระยะเวลาอันสั้น
บริการอินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ตสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่
· ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail) คือไปรษณีย์ที่ส่งผ่านกันภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ติดต่อกับบุคคลอื่นได้อย่างรวดเร็ว เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เมื่อเทียบกับโปรแกรมอื่น ๆ ในอินเตอร์เน็ต สำหรับการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบ Unix มีโปรแกรมที่ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่หลายโปรแกรม อาทิเช่น Mail, Pine เป็นต้น ในระบบปฏิบัติการ Windows ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้งานกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแบบ GUI : Graphic User Interface ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น โปรแกรม Internet mail ของ Microsoft Internet Explorer หรือโปรแกรม Internet mail ของ Netscape เป็นต้น
· การขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Telnet) คือการขอเข้าใช้ระบบจากระยะไกล ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้บริการจากเครื่องใดในเครือข่ายที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้นโดยตรง การขอใช้บริการแบบนี้ผ้ใช้จะป้อนคำสั่งผ่านคอมพิวเตอร์ของตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง แล้วจึงแสดงผลลัพธ์กลับมาที่แสดงที่หน้าจอ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถใช้โปรแกรม telnet ได้โดยไม่ต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้ เช่นการค้นหาโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บแฟ้มข้อมูลด้วยโปรแกรม Archie และบริการ Gopher เป็นต้น
· บริการขนถ่ายแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ (File Transfer Protocol หรือ FTP) คือการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เป็นบริการสำคัญอย่างหนึ่งในอินเตอร์เน็ต โดยปรกติแล้วผู้ที่สามารถถ่าย โอนย้ายแฟ้มข้อมูลได้นั้น จะต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้บนโฮสต์นั้นๆ แต่เครือข่ายหลายแห่งได้เปิดให้บริการสาธารณะให้แก่บุคคลภายนอก สามารถถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูลด้วยชื่อบัญชี "anonymous" โดยไม่ต้องมีการป้อนรหัสผ่านข้อมูล หรือแฟ้มข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถขอถ่ายโอนย้ายได้นั้นมีอยู่มากมาย เช่น บทความข้อมูลทางสถิติ ผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ และสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ คือซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ทำงานบนระบบต่าง ๆ เช่นระบบวินโดวส์ ดอส ยูนิกซ์ หรือแมคอินทอช
· Archie คือระบบค้นแหล่งที่อยู่ข้อมูล เป็นระบบที่ช่วยค้นหาที่อยู่ของแฟ้มข้อมูลบนโฮสต์สาธารณะ เมื่อต้องการค้นว่าแฟ้มข้อมูลที่สนใจอยู่ที่โฮสต์ใด ให้เรียกใช้ Archie แล้วป้อนคำสั่งค้นชื่อแฟ้มข้อมูล โปรแกรมจะตรวจค้นหาแฟ้มข้อมูล พร้อมกับแสดงชื่อแฟ้มและชื่อโฮสต์ที่เก็บข้อมูล เมื่อผู้ใช้ทราบชื่อแล้วก็สามารถใช้ FTP เพื่อถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูลต่อไป
· Gopher เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดค้นหาข้อมูลและขอใช้บริการด้วยระบบเมนูและเป็นจุดศูนย์รวมในการเรียกใช้บริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีทั้ง Telnet โอนย้ายแฟ้มข้อมูลด้วย FTP หรือค้นหาชื่อโฮสต์ที่เก็บแฟ้มข้อมูลด้วย Archie บริการเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องพิมพ์คำสั่ง และไม่จำเป็นต้องจดจำชื่อโฮสต์ที่ต้องการติดต่อ เพราะสามารถเลือกได้จากเมนู Gopher จึงเป็นเสมือนเส้นทางและอุโมงค์ลัดเลาะไปสู่ยริากรในอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลก
· กลุ่มข่าว (UseNet) เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มการสนทนาและอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ ผ่านทางระบบกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์แบบเดียวกันกับบูลเลตินบอร์ด (Bulletin Board System) แต่ละกลุ่มข่าวใน Usenet มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็นในหัวข้อตามที่กลุ่มนั้นสนใจ ตั้งแต่เรื่องทางเทคนิค วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ กีฬา ศาสนา ปรัชญา และหัวข้ออื่น ๆ อีกมากมาย
· Wide Areas Information Server (WAIS) ดัชนีบอกแหล่งข้อมูล (อ่านว่า เวยส์) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลในรูปทที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่อยู่ในแฟ้มนั้น ในขณะที่ Archie จะค้นชื่อของแฟ้มที่ต้องการค้นหาซึ่งต่างกับ WAIS ลักษณะของ WAIS เป็นการเชื่อมโยงศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าไว้ด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากว่าในอินเตอร์เน็ตมีฐานข้อมูลอยู่หลายแห่งกระจัดกระจาย การค้นข้อมูลโดยแยกไปค้นตามข้อมูลต่าง ๆ ย่อมไม่สะดวกแก่ผู้ใช้ การทำงานของ WAIS จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นเหมือนกับว่ามีฐานข้อมูลเพียงแห่งเดียว และเมื่อต้องการค้นหาข้อมูล คอมพิวเตอร์อาจจะช่วยค้นไปยังแหล่งข้อมูลที่ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันอยู่
World Wide Web (WWW) เป็นบริการข้อมูลแบบมัลติมีเดีย (Multi-media) บนอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน จุดเด่นของ WWW ได้แก่ความง่ายต่อการใช้งาน และมีรูปแบบการแสดงผลแบบ (Hyper Text) ที่เชื่อมโยงจากข้อมูลชุดหนึ่งไปยังข้อมูลอีกชุดหนึ่งได้ ซึ่งอาจอยู่ในศูนย์บริการข้อมูลเดียวกันหรือต่างศูนย์กัน บริการ www จึงเป็นเสมือนเครือข่ายที่โยงใยข้อมูลทั่วโลกเข้าหากัน เมื่อใช้งานศูนย์บริการแห่งหนึ่งแล้วผู้ใช้สามารถต่อเชื่อมเพื่อค้นข้อมูลที่ศูนย์อื่น ๆ ได้ ข้อมูลใน www มีทั้งข้อความปรกติ หรือแบบมัลติมีเดีย ที่ประกอบด้วยเสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว www ยังได้ผนวกบริการอินเตอร์เน็ตอื่นไว้ภายใน เช่น การโอนย้ายแฟ้มด้วย Gopher หรือ Usenet
 
 

 

การสื่อสารในเวลาจริง

                  
การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication)
เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเช้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และวอยซ์โอเวอร์ไอพี
แชท (chat)
เป็นการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งระหว่างบุคคล 2 คน หรือ ระหว่างกลุ่มบุคคล โดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์ เช่น Windows Live และ Yahoo messenger
ห้องคุย (chat room)
เป็นการสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อที่สนใจซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพูดคุยกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่ม การสนทนารูปแบบนี้อำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยอาจสื่อสารในรูปข้อความ การแบ่งปันไฟล์ หรือ การใช้เว็บแคมควบคู่กันไประหว่างการสื่อสาร
วอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือวีดีโอไอพี (voice over IP: VoIP)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอินเทอร์เน็ตเทเลโฟนี (internet telephony)ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยกับผู้อื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยวอยซ์เวอร์ไอพีใช้ อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อเข้ากับคู่สนทนาที่อาจอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป โดยเสียงของผู้พูดจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิทัลแล้วส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับปลายทาง

 

 

 

 

 

 

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

 

 

เรียนรู้เกี่ยวกับ Blog

ปัจจุบัน Blog ได้เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารที่สำคัญในโลกไซเบอร์ที่ได้รับความนิยมมาก เพราะเป็นสื่อ Interactive เมื่อผู้อ่านอ่านอะไรอยู่ แล้วอยากรู้รายละเอียดมากขึ้น ผู้อ่านก็สามารถ click ไปยัง website อื่นที่เกี่ยวข้องดูว่าคนอื่นเขียนอะไรอย่างไรเช่น click เข้าไปใน website http://kmblogs.com/public ก็จะพบเรื่องราวต่างๆมากมาย แม้แต่บิลเกตต์ ยังกล่าวถึง blog ว่า “ ในอนาคต การสื่อสารภายในองค์กรจะใช้ blog เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญ” นักบริหารที่มีชื่อเสียงจะมี blog ไว้แสดงความก้าวหน้าในการพัฒนางานของตนเอง เมื่อนำ blog ของทุกคนมารวมกันจะเป็นชุมชนปฏิบัติ (Community of Practices) ที่ใหญ่มากในโลกไซเบอร์


เรียนรู้เกี่ยวกับ Blog ต้นกำเนิด Webblog นั้น เริ่มมีใช้มาตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 1997 โดยผู้ที่คิดชื่อนี้คือ Jorn Barger Blog เป็นเว็บไซต์ที่สามารถเป็นได้หลากหลายอย่างแล้วแต่เจ้าของอยากให้เป็น ตั้งแต่ไดอารีส่วนตัว สถานที่สำหรับใช้ในการทำงานร่วมกัน (collaborative work space) หรือสภากาแฟสำหรับคุยเรื่องการเมือง แหล่งรวมข่าวสารความเป็นไป แหล่งรวมลิงค์ ไปจนถึงสมุดบันทึกความเป็นไปของโลกใบนี้ สรุปก็คือ "Blog" เป็นที่ซึ่งเราเอาไว้เขียนเรื่องราวที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยเรื่องที่เขียนเข้าไปใหม่ จะอยู่ส่วนบนสุด ซึ่งทำให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม สามารถอ่านเรื่องราวใหม่ๆได้ และยังสามารถที่จะเสนอแนะหรือติชมได้ ในกรณีที่เจ้าของ Blog นั้นๆ อนุญาต blog ที่ได้รับความนิยมก็จะเป็น blog ที่มีข้อมูล (content) ดี ที่ทำให้คนติดใจต้องกลับมาติดตามอ่านทุกครั้ง ที่มีการอัพเดท หรือโพสต์เพิ่มเติม คนทั่วไปส่วนมาก มักจะแยกไม่ออกว่าอะไรคือ blog นอกจากคำจำกัดความข้างต้น โดยทั่วไปแล้ว blog จะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า เว็บไซต์ทั่วไป blog จะถูกสร้างขึ้นจากคนๆเดียว และข้อมูลที่เขียนก็จะมาจากคนๆเดียว เป็นเรื่องที่เขียนถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของคนๆนั้นเท่านั้น ทำให้คนธรรมดาทั่วไปทุกคน ได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นของตัวเองโดยไม่ต้องผ่านสื่อใดๆ ที่อาจจะคอยกลั่นกรองเรื่องราว เพียงเพราะว่าสิ่งนั้นๆ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่ในสังคม หรืออาจจะไม่มี "เนื้อที่" อาทิ "หน้ากระดาษ" ถ้าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และ เวลา ถ้าเป็นสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ เพียงพอที่จะผ่านสื่อนั้นออกไป ในประเทศที่ประชาชนทั่วไปเชื่อว่า เนื้อหาต่างๆถูกควบคุม หรือ เซ็นเซอร์ อาทิ จีน เกาหลีเหนือ หรือในประเทศที่ประชาชนมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เชื่อมั่นในความเชื่อของตัวเอง อย่างสหรัฐอเมริกา เนื่องจากใครก็ได้สามารถสร้าง blog ขึ้นมาได้ โดยขณะนี้ สามารถทำบล็อกได้ฟรีๆ จากหลายเว็บไซต์ เท่านี้ทุกๆคนสามารถเป็น "สื่อ" ได้ด้วยตัวเอง


วัตถุประสงค์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเขียนblog คือ การเขียนเพื่อนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่น ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องคำนึงว่าบันทึกที่เขียนนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจริง หรือเป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่จริง นอกจากนี้ การเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นใน blog ของผู้อื่น แม้จะเป็นไปได้โดยอิสระเช่นเดียวกันกับการเขียนบันทึกใน blog ก็ควรเป็นการเขียนที่ใช้ภาษาสุภาพและเป็นการให้ความเห็นเกี่ยวกับบันทึกนั้นๆ โดยตรง นอกจากนี้จะต้องไม่เป็นการเขียนเพื่อวัตถุประสงค์ในการแทรกแซงและทำลายความคิดสร้างสรรค์ ความสนุกสนานในการเขียน blog ของผู้เขียนท่านนั้นๆ
สำหรับการใช้ blog ในการจัดการความรู้ในองค์การ ในประเทศไทย เห็นจะมีแต่ blog ของ สคส. เท่านั้น ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้และการใช้ blog สำหรับในต่างประเทศนิยมใช้ blog กันมากกว่าคนไทย
การเขียน blog ให้ได้รับความนิยมมากขึ้น เจ้าของ blog ควรจะหาจุดยืนของตัวเองให้เจอ แล้วแสดงความคิดเห็นในมุมมองของตัวเองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ มากกว่าที่จะบอกว่า "วันนี้...ฉันทำนี้ๆ...แล้วก็นอน" ดังนั้น ความเป็นตัวตนของเจ้าของ blog จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจาก blog เป็นการติดต่อระหว่าง 2 ฝ่ายที่มีกระแสตอบรับกันได้อย่างทันที ทั้งนี้ blog ส่วนใหญ่จะรับความเห็นตอบกลับจากคนอ่านได้ทันที
เนื้อหาใน Blog นั้นจะส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ
1. หัวข้อ (Title)
2. เนื้อหา (Post หรือ Content)
3. วันที่เขียน (Date)

ความนิยม บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น จากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน


จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์สังคมออนไลน์ / ใช้บล็อกจากงานวิจัยของ AsiaBUS ซินโนเวท

การใช้งานบล็อก

ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก
สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น

การสร้างบล็อก สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การติดตั้งโปรแกรมทำ Blog ขึ้นใช้ใน office ตัวอย่างโปรแกรมสร้าง blog เช่น WordPress, b2evolution, Nucleus, pMachine, MyPHPblog, Movable Type, Geeklog, bBlog (วิธีนี้ท่านต้องมีเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ในการใช้งานเองอาจทำเป็น Intranet Blog หรือ Internet Blog ก็ได้)
2. การใช้งานblog ฟรี จากเว็บที่เปิดให้บริการ ปัจจุบันมีเว็บเปิดให้บริการหลายเว็บอาทิ เช่น Blogger.com (en), Bloglines.com (en), Exteen.com (th), Bloggang.com(th)* เป็นต้น


สังคมบล็อก
สังคมบล็อก หมายถึง พื้นที่บนอินเตอร์เน็ท เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความ สามารถแบ่งบัน เรื่องราว รูปภาพ รูปถ่าย อันส่งผลประโยชน์ แกผู้เข้ารับชม อันนี้คือสิ่งที่จำกัดความหมายของสังคมบล็อก ตั้งเป้าหมายไว้ โดยผู้ใช้ สามารถที่จะหา ผลประโยชน์จาก บทความที่ตนเอง เป็นผู้นำเสนอ โดยอาจจะมีการ นำเสนอโฆษณา พร้อมๆ กับการนำเสนอ บทความ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ อย่างอิสระ
อนึ่ง การใช้งานระบบสังคมบล็อก มีเนื้อหาของการนำเสนอ โดยจะต้องเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ ผู้นำเสนอ ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน ไม่อาจจะทำการสำเนา เอกสารดังกล่าวได้ เพียงแต่สามารถทำการลิงก์เชื่อมโยง เพื่อส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานทั่วไป ให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

ประโยชน์ของ blog
1. ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้
การเขียน blog สำหรับบันทึกเล่าเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ในสิ่งที่ผู้เล่าสนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนต้อง มีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง จะช่วยอำนวยให้การดึงเอาความรู้ฝังลึกถูกแสดงออกมาได้โดยไม่ยากนัก
ความเป็นผู้รู้ของตนเอง หรือผู้เล่าบางท่านอาจตระหนักรู้อยู่ว่าตนเองมี ความรู้นี้อยู่ แต่ความรู้ไม่เคยได้ถูกเรียบเรียงหาเหตุผลสนับสนุนต่อยอดความถูกต้องของความรู้นี้ ได้โยงความสัมพันธ์ของเรื่องเล่าของตนเองและสร้างความน่าเชื่อถือและ ความถูกต้องของความรู้ฝังลึกให้เกิดขึ้นได้ และการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็สามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้(Knowledge Assets)อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความรู้ก็ทำได้โดย สะดวกรวดเร็ว ส่วนระบบ blog ที่เป็นแบบชุมชน เช่น GotoKnow.org จะยิ่งช่วยทำให้ขุมความรู้ถูกร่วมมือกันสร้างขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นขุมความรู้ที่เชื่อมโยง

2. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชน ซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการ สนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog blog เกือบทุกที่ จะมีไฟล์ RSS (Really Simple Syndication) อยู่บนไซต์ ในรูปของกราฟฟิกเล็กๆสีส้มเขียนว่า XML หรือ RSS หรือ ATOM หรือ อาจอยู่ในรูปของลิงค์ที่เป็นข้อความที่เขียนว่า "Syndicate this site" ไฟล์ RSS เป็นไฟล์ที่ประกอบด้วยเนื้อหา ย่อๆของบันทึกแต่ละอัน เมื่อใดที่ blog มีการปรับปรุงเนื้อหา ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้นๆมาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที ช่วยให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่อัพเดตเพื่อ ติดตามอ่านได้ทันท่วงที โดยผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่าน blog โดยตรงจากเว็ปไซต์ทีละไซต์ ผู้อ่านสามารถอัพเดตไฟล์ RSS ผ่านทางซอฟต์แวร์ช่วยอ่าน blog เช่น BlogExpress หรือจากเว็ปไซต์ เช่น Bloglines.com ก็ได้

3. ใช้เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เขียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้นๆ ไปๆ มาๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี
นอกจากนี้ โดยลักษณะของ blog แล้ว ผู้เขียนคนหนึ่งๆ อาจ link มายังบันทึกที่อยู่ใน blog อื่นๆ และแสดงความคิดเห็นต่อบันทึกนั้นๆ ใน blog ของตน และ blog อื่นๆก็อาจจะลิงค์และแสดงความคิดเห็นต่อกันเป็นทอดๆ ลักษณะการแลกเปลี่ยนความรู้เช่นนี้ เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่เป็นประจำในการแวดวงของคนเขียน blog

4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ และช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่นๆ โดยโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้นๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เขียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือ การร่วมเป็นสมาชิกของ blog ชุมชน อย่างที่มีให้บริการ ใน GoToKnow.org หรือ การอ่านบทความที่มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกัน ก็ล้วนเป็นการช่วยให้ค้นพบแหล่งค้นคว้าหาแหล่งความรู้ใหม่ๆ ได้โดยง่าย

5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ วิธีการหนึ่งที่ระบบ blog โดยทั่วไปนำมาใช้ในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของบันทึก คือการให้ผู้เขียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้นๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่งๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกแยะสู่หลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้โดยตัวผู้เขียนเอง หรืออาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมโดยคุณอำนวย (อาจมากกว่า 1 คน) ของชุมชนนั้นๆ
เมื่อผู้อ่านอ่าน blog แล้วอยากอ่านเพิ่มเติมในบันทึกที่เกี่ยวข้อง ก็สามารถเลือกอ่านบันทึกได้ตามหมวดหมู่หลักของบันทึกนั้นๆ และเมื่อ blog บรรจุความรู้มากขึ้น และจำนวน blog ที่เกี่ยวข้องก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ การสร้างแผนที่ความรู้ที่บ่งบอกถึงความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ของความรู้ต่างๆ ก็จะเป็นไปได้ด้วยความถูกต้องมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้โดยผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ สิ่งที่นักปฏิบัติด้านการจัดการความรู้อยากให้เกิดขึ้นภายหลังจากการที่ได้มีการจัดการความรู้ ก็คือ การที่มีผู้อื่นนำเอาความรู้นั้นๆไปใช้ให้เกิดผล และนำผลมาปรับ ปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้นๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบ blog ประกอบกับเทคโนโลยีในการ พัฒนาเว็ปในปัจจุบัน สามารถสร้างระบบ Rating หรือระบบการจัดลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้หนึ่งๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิดเห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็น เครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้ได้ในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน

7. ใช้เป็นเครื่องมือแสดงรายละเอียดของแก่นความรู้อย่างเป็นระบบ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า "Imagination is more important than knowledge." การไม่หยุดคิดที่จะวิจัยและพัฒนา เครืองมือเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อช่วยสร้างความสมบูรณ์แบบของระบบการจัดการความรู้เป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปัจจุบัน ระบบ blog ถือว่าเป็นเครื่องมือที่เสริมสร้างประสิทธิภาพในการเล่าเรื่องซึ่งเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการจัดการความรู้ แต่เพื่อที่จะสกัดความรู้ฝังลึกที่มีความซับซ้อน การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียว หรือการร่วมช่วยกันเล่าก็ตาม ก็อาจจะยังไม่สามารถสกัดเอาความรู้นั้นออกมาได้หมด เพราะความสับสน และความไม่มีรูปแบบในตัว ของความรู้เอง ดังนั้น เทคโนโลยีที่น่าจะสามารถช่วยจัดการความรู้ประเภทนี้ได้ ก็เช่น Rule-based reasoning หรือ Fuzzy logic เพื่อ ใช้ในการทำเหมืองความรู้ (Knowledge mining) เป็นต้น

8. เป็นศูนย์ความรู้ขององค์การ เพราะให้พนักงาน/บุคลากร แต่ละคนเขียน blog ส่วนตัวไว้ หากพนักงาน/บุคลากรท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่องค์กรให้รุ่นน้องศึกษาไป โดยการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะ Tacit Knowledge เขียนออกมาเป็น "เรื่องเล่า"

ผู้ให้บริการบล็อกในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จัก
Blognone บล็อกสำหรับเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีและข่าวไอทีอย่างเดียว
เอกซ์ทีน
GotoKnow
Bloggoo
learners.in.th
บล็อกแก๊ง
โอเคเนชั่น

ในยุคนี้ จึงกล่าวได้ว่ากระแสของ Blog มาแรงมากในการใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญภายในองค์การ ระหว่างองค์การและในโลกไซเบอร์ที่ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่าน blog ได้ Blog จากเดิมเพื่อการส่วนตัว กลายมาเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน และสร้างแบรนด์เพื่อหน่วยงาน ยิ่งองค์กรมีกำลังในการให้บริการ ก็พลิกผันเนื้อที่ Blog มาเป็นพื้นที่บริการให้เช่าใช้เป็นไดอารี่ส่วนตัว หรือเปิดเป็นบ้านไว้ต้อนรับแขกที่เชิญได้สบายๆ ผู้บริหารก็สามารถเปิด blog เป็นห้องผู้บริหารไว้บัญชาการให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำไปปฏิบัติ และรายงานผลการปฏิบัติให้ทราบได้ทันที คนอื่นที่เข้ามามาดูก็ได้ทราบเรื่องราวต่างๆ หรือเรื่องราวที่ผู้บริหารถ่ายทอดความรู้จากการไปประชุมพบปะผู้คน แล้วอย่างนี้ไม่เรียกว่า Blog พลิกโฉมตัวเองให้มี(คุณ)ค่าต่อองค์กร แล้วจะเรียกอะไร?


 
                        Twitter หรือ Micro Blogging คืออะไร?
Micro Blogging เกิดมาจากกติกาของ Networking Blog ที่ชื่อ Twitter
ซึ่งกำหนดว่าเขียนข้อความได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ซึ่งความยาวจะประมาณเท่านี้

เป็นการส่ง message ระหว่างสมาชิกที่มี connection กันด้วยระบบ RSS feed ส่งข้อความผ่านสื่อสองทาง เช่น SMS , instant message, email, Twitter's web site หรือโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสำหรับการนี้โดยเฉพาะ ด้วยเหตุที่เขียนข้อความได้จำกัดจึงเกิดคำเรียกอีกคำว่า "micro blogging" และข้อความที่ส่งถึงกันมีศัพท์เรียกว่า "Tweets" ซึ่งเปรียบเหมือนเสียงนกร้องอยู่ตลอดเวลา ข้อความที่จะส่งนั้นต้องเป็น plain text เท่านั้นจะแทรกคำสั่งโปรแกรมอะไรไม่ได้ ยกเว้นแต่ hyperlink มายังเว็บเพจของเรา ที่สามารถใส่ไปได้ โดยระบบจะจัดการต่อให้เอง
คนที่ใช้ Twitter โดยมากเป็น blogger ทั่วไปที่ต้องการสื่อสารให้พรรคพวกได้updateแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่มุมไหนของโลก โดยเริ่มมากจากคำถามที่ว่า What are you doing? แต่ข้อเสียในการใช้งานแบบส่วนตัวเกินไปก็มีมาก เช่น การส่ง message ว่า หิวข้าว อยากกินส้มตำ อยากไปดูหนัง ไปเที่ยวกับแฟนมา ไม่ได้อาบน้ำมาสามวันแล้ว ฯลฯ ซึ่งสร้างความรู้สึกที่น่ารำคาญกับผู้รับ Tweets ที่ไม่ได้สนิทสนมด้วย
เดิม Twitter มีจุดประสงค์สำหรับใช้สื่อสารแบบส่วนตัว และไม่เป็นทางการ จึงเต็มไปด้วยสิ่งที่คนอีกกลุ่มหนึ่งตั้งข้อรังเกียจ แต่ตอนหลังๆ คนเริ่มพยายามนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในทางการตลาด ซึ่งนับว่าเป็นไอเดียที่ไม่เลว เพราะ Twitter บริการส่ง SMS แบบ Broadcasting โดยไม่คิดค่าบริการ ตัวอย่างการนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ก็ เช่น
  • ใช้ในการโฆษณาบอกกันแบบปากต่อปาก ระหว่างสมาชิกด้วยกัน
  • ใช้สื่อสารข้อความสั้นๆภายในองค์กร ในส่วนที่ไม่เป็นความลับ
  • เหมาะกับกลุ่มที่ทำงานขายงานตลาดในเครือข่ายเดียวกันจะใช้ในสื่อสารบอกความคืบหน้า update ข้อมูลกันและกัน หัวหน้าทีมที่มีผู้ติดตามมากก็จะได้ประโยชน์มากหน่อย เพราะสามารถสั่งงานได้ฉับพลันทันที รับรายงานได้ทันที
  • ใช้สื่อสาร update กับผู้อ่าน กลุ่มสมาชิก ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
  • ใช้เป็นช่องทางให้ความรู้ที่น่าสนใจแก่สมาชิกกลุ่ม เพิ่ม value ให้กับผู้มอบความรู้
  • ใช้แสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะแบบ real time ในหมู่สมาชิก
  • ใช้รณรงค์ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ สาธารณประโยชน์กับกลุ่มสมาชิก
  • สำนักข่าว สามารถใช้ส่ง headline news ให้กับสมาชิก
  • บริษัท ห้างร้าน ใช้ส่งข้อความตามเทศกาล ส่งข่าวเกี่ยวกับสินค้าโปรโมชั่น
การใช้ Twitter จึงเหมือนกับการสื่อสารทางตรงของสมาชิกผู้หนึ่งกับสมาชิกกลุ่มป้าหมาย ซึ่ง connect กันในระบบ online networking ด้วยวิธี broadcasting sms
Social Networking คืออะไร ?
Social Networking ในที่นี้หมายถึงเฉพาะที่เป็นแบบ online ที่สมัครสมาชิกกันได้ฟรีๆ แล้วก็ส่ง message ผ่านทาง instant message หรือ email ไปชักชวนคนอื่นมา connect ด้วย เมื่ออีกฝ่ายดูประวัติคนส่งแล้ว เกิดความสนใจก็ connect กลับ การได้เพื่อนแบบนี้ นอกจากจะได้รู้จักคนที่ connect กันโดยตรงแล้วยังสามารถ connect กับเพื่อนของเพื่อนนั้นได้อีกด้วย จะ connect ไปได้กี่ชั้นก็แล้วแต่ขอบเขตการบริการของผู้ให้บริการนั้น
ส่วนมากบริการทำนองนี้มักจะถูกมองไปในเรื่องของการหาคู่ โดยที่ต่างคนต่างโพสประวัติ (จริงไม่จริง มีคนดียวที่รู้ดี) รูปสวยๆ หล่อๆ ดูภูมิฐาน ไว้ก่อน คุยกันไปคุยกันมาก็กลายเป็นคู่รัก แต่งงานกันไป แต่ที่ถูกหลอกลวงน่าจะมีมากกว่า (ละมัง)
ถ้าไม่อยากข้องเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้ก็ต้องเลือกเครือข่ายที่ให้บริการด้านธุรกิจ เช่น ecademy.com เป็นต้น ในนั้นสมาชิกจะแสดง profile ของตนไว้ พร้อมทั้งเขียน Tag ระบุคุณสมบัติของตัวเอง ของธุรกิจ หรือของสินค้าบริการที่มานำเสนอ เมื่อคนอื่นในเครือข่าย search พบแล้วติดต่อมา ก็จะมีการ add contact พูดคุยกันทางกล่องmessageในเว็บไซต์, instant message อย่าง Skype, MSN, Yahoo หรือ email เป็นการเริ่มต้นสานความคิดและเครือข่ายทางธุรกิจ หรือต่อขาธุรกิจออกไปในกลุ่มนักธุรกิจหรือผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจ นักลงทุน นายธนาคาร นักประดิษฐ์คิดค้น คนให้คำปรึกษา ที่มาพบกันในนั้น มีการแนะนำต่อๆกัน เป็นการแสวงหาและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งถ้าทำอย่างมืออาชีพจะเป็นช่องทางในการประกอบอาชีพ หรือเป็นเจ้าของธุรกิจใหม่ๆได้อย่างน่าสนใจทีเดียว
ของฟรี ไม่มีในโลกฉันท์ใด บริการที่สร้างโอกาสให้กับสมาชิกก็ย่อมต้องมีการลงทุนบ้างฉันท์นั้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ เว็บไซต์ที่ให้บริการ social networking นี้จะมีการเก็บค่าสมาชิกตามระดับความได้เปรียบในการเข้าถึงข้อมูลของสมาชิกในกลุ่ม ยิ่ง upgrade สูงเท่าไรก็มีโอกาสได้พบปะนักธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น แถมยังมีสิทธิพิเศษ ได้รับส่วนลดในการร่วมประชุม พบปะสังสรรค์ ฟังอบรม สัมนาที่ผู้ให้บริการร่วมกับสมาชิกผู้มีคุณวุฒิที่ได้รับเชิญมาบรรยายอีกด้วย
ทำไมต้อง Twitter ?
คำตอบอยู่ที่ว่าจะใช้ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร ต่างหาก ถ้าจะใช้ส่วนตัวแบบ ส่งข้อความกับเพื่อนๆ ก็ไม่ต้องใช้ก็ได้ แต่ถ้าจะใช้ในเชิงธุรกิจ หรือ วิชาการ หรือเพื่อทำสิ่งที่สร้างสรรค์กับตัวเองและผู้อื่น ก็น่าจะลองพิจารณาดู
จะเลือก follow ใคร และ ใครจะมา follow เรา ?
ใครที่มีแนวความคิดที่น่าสนใจ ช่วยเติมเต็มสิ่งที่เราขาด ช่วยเพิ่มพูนสติปัญญาความรอบรู้ด้านที่เราสนใจ เป็นผู้นำทางความคิด เป็นคนรู้เท่าทันข่าวสาร ที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติอะไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราเอง อาจจะต้องการคนสนุกสนานที่จะคอย feed joke ให้เราอารมณ์ดีก็ได้
เมื่อสมัครไปแล้ว เขาจะเห็นเรา ถ้าเขาสนใจตามเรากลับมาแล้ว add เราบ้าง ก็จะกลายเป็นการสื่อสารถึงกันและกัน ต่อไปก็ต้องพยายามโปรโมทตัวเองด้วยการส่ง email ถึงเพื่อนที่เราอยากให้ใช้ Twitter เขียนบทความให้คนรู้ ทำประชาสัมพันธ์ในชุมชนออนไลน์ที่มีคนที่น่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ แล้วรอดูผล ขณะเดียวกันก็ต้องเริ่ม contribute ด้วยการส่ง Tweets เมื่อทำไปสักพัก อาจจะพบกับพวกที่ชอบส่งเสียงในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ก็ต้องมีมาตรการดูแลและจัดการด้วยเหมือนกัน เช่น ไม่สนใจ หรือ ไม่ก็พิจารณาตัดออกไปจากสาระบบของเราเสีย
ในระบบจะมีสถิติให้สมาชิกดูว่า สมาชิก follow ใครอยู่กี่คน มีคนมา follow สมาชิกกี่คน มี favourite tweets กี่ข้อความ เป็นต้น
ใช้ Twitter อย่างไรให้ถูกต้อง ?
Tweets ที่ส่งออกไปทั้งหมดจะปรากฎอยู่ใน profile สมาชิกและจะอยู่ต่อไปถ้าไม่มีการจัดการบ้าง และส่วนที่ยังปรากฎอยู่จะแสดงถึงลักษณะความเป็นคุณ (หรือคุณในโลกออนไลน์) อยู่อย่างนั้น ฉะนั้นจงคำนึงถีงสิ่งเหล่านี้ด้วย
  • อย่าส่งเสียงน่ารำคาญ เพราะชื่อก็บอกว่าเป็น เสียงนก ดังนั้นถ้าใช้แบบ "เสียงนก เสียงกา" ก็จะไม่มีคนให้ความสนใจได้เหมือนกัน จึงควรต้องระมัดระวัง เลือกคำให้สั้น ให้เหมาะและได้ใจความ เหมือนที่คุณจะใช้หากมีโอกาสได้คุยกับประธานบริหารของธนาคารที่คุณขอกู้เงินในเวลาเพียง 30 วินาที ฉะนั้นจึงอาจต้องฝึกกันบ้าง หรือวางแผนไว้บ้าง
  • อย่านิ่งเงียบไป ต้องส่งข้อความให้คนอื่นรู้ว่ายังไม่ตายไปจากโลกนี้
  • ลองอะไรใหม่ๆดูบ้าง ถ้าสิ่งนั้นจะทำให้เกิดประโยชน์กับตัวเองมากขึ้น (ถ้าจะคิดแบบธุรกิจ) บางทีกฎเกณฑ์ก็กลายเป็นข้อจำกัดของการประยุกต์ความคิดสร้างสรรค์ได้เหมือนกัน
  • ปรับตัวให้เร็ว ถ้าสิ่งที่ทดลองทำนั้นไม่ได้ผล ก็อย่าทู่ซี้ทำต่อไป ไม่งั้นจะเกิดผลเสียตามมา เว้นแต่เชื่อมั่นว่ามันจะได้ผลแต่อาจจะยังไม่ถึงเวลา ก็อยู่ที่การตัดสินใจของตัวเอง
  • อย่าใช้ Twitter เป็น SMS โต้ตอบกับใครเป็นการส่วนตัวจนดูไม่เป็นProfessional ถ้าจำเป็นก็ควรยกหูโทรศัพท์คุยหรือส่ง IM แทน
  • ในกรณีที่ต้องคุยใช้ Tweet บอกใครหรือกลุ่มของใครเป็นการเฉพาะ ควรใส่เครื่องหมาย @หน้าชื่อคนนั้นๆ หรือใช้สีที่แตกต่างกัน
  • เพื่อตัดปัญหาเวลาคนรับ Tweets ไม่ได้ flollow ทุกคนในกลุ่มที่เราส่ง SMS เขาจึงได้ข้อความไม่ครบ ทำให้เกิดการเข้าใจผิดกันได้ จึงควรใช้ถ้อยคำที่ผู้อ่านสามารถจับความได้เป็นดีที่สุด หรือไม่ก็เลือกสื่อสารทางอื่นแทน
  • อย่าพยายามขายอะไรใน ธweets เพราะมันจะไม่ work ลองสำรวจดู100 คำที่ไม่ควรใช้ใน email ในเรื่องนี้ก็ดีค่ะ เพราะคนทั่วไปไม่มีใครชอบจดหมายขายสินค้า หรือใช้วิธี hard sell
...... 100 คำที่ควรเลี่ยงในการส่งอีเมล์ & ตั้งชื่อหัวข้อ http://www.oknation.net/blog/nanahahe/2007/08/27/entry-2
  • ก่อนส่ง ลองคิดดูว่าถ้าเราเป็นผู้รับ Tweet นั้น เราจะอยากเป็น follower ของคนนั้นไหม
ส่ง Tweet อย่างไรดี ?
การส่งทาง email แล้วข้อความถูกส่งไปทั้งบนเว็บ และ sms ประหยัดไปได้มาก แต่ต้องใช้ program จาก lifehack.org เพื่อส่ง tweet ทาง email ใน twitter หรือจะใช้ skype หรือใช้ โปรแกรมที่เรียกว่า swype ก็ทำได้เช่นกัน
เป็นความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์กับชีวิตประจำวัน ที่เก็บเกี่ยวมาจากการอธิบายของ Caroline Middlebrook เกี่ยวกับ Twitter ซึ่งช่วยคลายข้อสงสัยไปได้มากเหมือนกันค่ะ เพราะก่อนหน้านี้เห็นคนบ่นเกี่ยวกับพวก Twitter ว่าเต็มไปด้วยข้อความไร้สาระ แต่พอมีคนชี้ให้เห็นว่าถ้าเอามาใช้ให้ดีก็น่าสนใจเช่นกัน




Wiki คืออะไร

ความหมายของ Wiki วิกิ หรือ วิกี้ (wiki) คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังรวมหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็น ตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน ตัวอย่างเช่น เว็บสารานุกรมออนไลน์ วิกิพีเดีย (www.wikipedia.org) ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki (www. mediawiki.org) ในการบริหารจัดสารานุกรมออนไลน์ สามารถ Download มาติดตั้งได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากเว็บไซต์ http://www.mediawiki.org/wiki/Download_from_SVN#Download ซึ่งปัจจุบันเผยแพร่เวอร์ชั่นล่าสุด คือ mediawiki-1.9.3 ซึ่ง

ประวัติความเป็นมาของ Wiki

วิกิตัวแรกชื่อว่า WikiWikiWeb สร้างโดย วอร์ด คันนิงแฮม เมื่อพ.ศ. 2537 สำหรับโครงการ Portland Pattern Repository ของเขา โดยได้เขียนโปรแกรมขึ้นด้วยภาษาเพิร์ลและติดตั้งลงที่เว็บ c2.com โดยชื่อของ วิกิ นั้นมาจากชื่อรถประจำทางสาย "วิกิ วิกิ" (Wiki Wiki) ของระบบรถขนส่งแชนซ์ อาร์ที-52 ที่ สนามบินฮอโนลูลูในรัฐฮาวาย คำว่าวิกิในภาษาฮาวายมีความหมายว่าเร็ว ดังนั้นคำว่า "วิกิวิกิ" หมายถึง "เร็วเร็ว" นั่นเอง
ระบบวิกิเริ่มเป็นที่รู้จักภายหลังจากที่สารานุกรมวิกิพีเดียได้นำมาใช้ ซึ่งต่อมาได้มีหน่วยงานหลายส่วนได้นำระบบวิกิมาใช้ไม่ว่าในการจัดการเอกสาร การติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การร่วมเขียนโปรแกรม


สัญลักษณ์รถบัส "วิกิวิกิ" ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติฮอโนลูลู

ลักษณะสำคัญของ Wiki
วิกิเน้นการทำงานแบบง่าย ซึ่งผู้เขียนสามารถสร้างเนื้อหาบนเว็บได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ใน ภาษาเอชทีเอ็มแอล โดยข้อมูลถูกเขียนร่วมกันด้วยภาษามาร์กอัปอย่างง่ายโดยผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ในแต่ละหน้าจะถูกเรียกว่า "หน้าวิกิ" และเนื้อหาภายในจะเชื่อมต่อกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งส่งผลให้ในแต่ละวิกิสามารถทำงานผ่านระบบที่เรียบง่ายและสามารถใช้เป็นฐานข้อมูล สำหรับสืบค้น ดูแลรักษา ที่ง่าย

นิยามลักษณะของเทคโนโลยีวิกิคือความง่ายในการสร้างและแก้ไขหน้าเว็บ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบหรือยืนยันจากเจ้าของเว็บนั้น เว็บวิกิหลายแห่งเปิดให้ผู้ใช้บริการทั่วไปในขณะที่บางกรณี ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าวิกิบน เซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้อาจจะต้องล็อกอินเพื่อแก้ไข หรือเพื่ออ่านบางหน้า

การแก้ไขเอกสารในหน้าวิกิ
รูปแบบรหัสต้นฉบับบางครั้งก็รู้จักกันในชื่อ "ข้อความวิกิ" ซึ่งประกอบไปด้วยข้อความธรรมดารวมกับภาษามาร์กอัปอย่างง่ายซึ่งใช้ในการกำหนดโครงสร้างของเอกสารและรูปลักษณ์ในการแสดงผล ตัวอย่างที่มักยกบ่อยได้แก่ การใช้เครื่องหมายดอกจัน ("*") ขึ้นต้นบรรทัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกว่าบรรทัดนั้นเป็นรายการหนึ่งในรายการแบบจุดนำ รูปแบบและวากยสัมพันธ์สามารถแตกต่างกันออกไปได้หลายแบบขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ในบางระบบอนุญาตให้ใช้แท็ก HTML ได้

การออกแบบข้อความวิกิมีเหตุผลมากจาก HTML ซึ่งแท็กหลายแท็กมีความคลุมเครือ ทำให้จากรหัสต้นฉบับ HTML ผู้ใช้สร้างจินตนาภาพถึงผลลัพธ์ได้ยาก สำหรับผู้ใช้ส่วนมากการอ่านและการแก้ไขเนื้อหาบนรหัสต้นฉบับ HTML โดยตรงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ดังนั้นการส่งเสริมให้แก้ไขบนข้อความธรรมดากับข้อตกลงอีกนิดหน่อยเพื่อการกำหนดโครงสร้างและรูปแบบจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า
นอกจากนั้นการที่ผู้ใช้ไม่สามารถใช้ความสามารถบางอย่างของภาษา HTML เช่น จาวาสคริปต์ และ Cascading Style Sheet ได้โดยตรง ทำให้ได้ประโยชน์คือรูปลักษณ์และความรู้สึก (Look and Feel) ในการใช้งานวิกิมีความสอดคล้องกัน เนื่องจากผู้ใช้แก้ไขรูปแบบได้อย่างจำกัด พร้อมทั้งความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ในการนำวิกิไปใช้หลายระบบแสดงให้เห็นไฮเปอร์ลิงก์ที่ใช้งานได้เสมอ ไม่เหมือนในการใช้ HTML ซึ่งข้อความที่ไม่สามารถมองเห็นจากการแสดงผลว่าเป็นไฮเปอร์ลิงก์ก็อาจจะเป็นไฮเปอร์ลิงก์ได้

ตัวอย่างเปรียบเทียบคำสั่ง


คำสั่งใน มีเดียวิกิ


คำสั่ง เอชทีเอ็มแอล

ผลลัพธ์ที่แสดงออกมา
'''เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน''' หรือ ''Candlelight Blues'' เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะ[[บลูส์]]
<p><b>เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน</b> หรือ <i>Candlelight Blues</i> เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะ <a href="http://th.wikipedia.org/wiki/บลูส์> บลูส์</a>
เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน หรือ Candlelight Blues เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะบลูส์

การควบคุมความเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในหน้า Wiki โดยทั่วไปแล้ววิกิออกมาบนปรัชญาที่ว่าทำการแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ง่ายมากกว่าทำให้การสร้างสรรค์ยาก ดังนั้นเมื่อวิกิเป็นระบบเปิดจึงจัดสิ่งที่มีความสำคัญ ในการยืนยันความถูกต้องของการแก้ไขเนื้อหาของหน้าวิกิล่าสุด สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของวิกิทุกตัวก็คือหน้า "ปรับปรุงล่าสุด" ซึ่งเป็นรายการที่เรียงลำดับการเปลี่ยนแปลงจากล่าสุดจำนวนหนึ่งหรือเป็นรายการการเปลี่ยนแปลงที่ทำในช่วงเวลาหนึ่ง วิกิบางตัวสามารถเลือกกรองโดยเพื่อที่จะไม่แสดงเอาการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและไม่แสดงการแปลงที่ทำโดยสคริปต์อัตโนมัติ ("บอต")
จากปูมบันทึกการเปลี่ยนแปลง ความสามารถอื่นของวิกิส่วนมากคือ "ประวัติการแก้ไขปรับปรุง" ซึ่งแสดงหน้าวิกิรุ่นก่อนและยังมีลักษณะพิเศษในการ "ดิฟฟ์" (diff) ที่เน้นให้เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างการแก้ไขปรับปรุง 2 ครั้ง ด้วยการใช้ประวัติการแก้ไขปรับปรุง บรรณาธิการสามารถดูหรือนำหน้าวิกิรุ่นก่อนหน้ากลับคืนมาได้ลักษณะเด่นดิฟฟ์สามารถใช้ในการตัดสินใจว่ามีความจำเป็นในการนำหน้าวิกิรุ่นก่อนกลับคืนมาหรือไม่ ผู้ใช้วิกิธรรมดาสามารถดูดิฟฟ์ของรายการหน้าที่ถูกแก้ไขจากหน้า "ปรับปรุงล่าสุด" ถ้าหากว่ามีการแก้ไขที่ไม่เป็นที่ยอมรับโดยดูจากประวัติก็สามารถนำหน้าวิกิรุ่นก่อนหน้ากลับคืนมาได้ การนำหน้าวิกิรุ่นก่อนกลับคืนมามีความสะดวกระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์วิกิที่ใช้

เทคโนโลยีของ Wiki

Wiki ทำงานอย่างไร

เว็บไซต์ Wiki ใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ไม่ค่าลิขสิทธิ์ทำงาน เป็นประเภท GNU General Public License (GPL). เผยแพร่ภายใต้ข้อกำหนดขอ GNU General ออกแบบติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ฝั่ง Server ซอฟต์แวร์ MediaWiki ถูกออกแบบให้ทำงานบน Sever ขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถสูง พัฒนาโดยใช้ภาษา PHP ร่วมกับระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล MySQL การสร้างเอกสารเผยแพร่ใช้รูปแบบของ wikitext format โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้ภาษา XHTML หรือ CSS (Cascading Style Sheets) ซึ่งเป็นภาษาหลักในการสร้างและจัดรูปแบบเอกสารที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ดังตัวอย่างในรูป


ความต้องการของระบบ (Requirements) เว็บไซต์ประเภท Wiki ที่มีชื่อเสียง เช่น www.wikipedia.org ใช้ซอฟต์แวร์บริหารจัดการคือ MediaWiki ซึ่งสามารถ Download ได้ที่เว็บไซต์ของ http://www.mediawiki.org/wiki/Download/ ซึ่ง MediaWiki รุ่นที่เผยแพร่ปัจจุบัน คือ version .19.3 การติดตั้งมีความต้องการของระบบเบื้องต้นดังนี้ Web Server such as Apache or IIS
PHP version 5.0 or later (5.1.x recommended)
Database Server MySQL 4.0 or later or PostgreSQL 8.1 or later (also requires plpgsql andtsearch2)

ที่ตั้งเครื่องแม่ข่าย ( Sever) ของ Wiki

ปัจจุบัน Wikimedia Foundation มีการติดตั้งเครื่องแม่ข่ายไว้ที่รัฐ Florida สหรัฐอเมริกา ที่เมือง Amsterdam และที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ดังรูป


แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้แบบ Wiki
โครงการพัฒนาเว็บไซต์ประเภท Wiki มีหลายภาษาทั่วโลก สำหรับภาษาไทยเองก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ประเภท Wiki หลายโครงการ ซึ่งแต่ละโครงการสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในระบบชั้นเรียนปกติและในระบบอีเลิร์นนิ่งได้เป็นอย่างดี โครงการ ที่เป็นเว็บไซต์ประเภท Wiki ในภาษาไทย มีรายละเอียด ดังนี้
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี (http://th.wikipedia.org/wiki/ ) วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมเสรี ที่ร่วมสร้างขึ้นโดยผู้อ่านหลายคนร่วมกันปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ ระบบของวิกิพีเดียจะแตกต่างจากแหล่งข้อมูลอื่น ที่ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้ ไม่เฉพาะเจ้าของเว็บไซต์ วิกิพีเดียจะแตกต่างจากบล็อกและเว็บบอร์ดที่เรื่องทุกเรื่องถูกจัดเรียงตามชื่อหัวข้อนั้นในลักษณะสารานุกรม


วิกิตำรา ( http://th.wikibooks.org/wiki ) วิกิตำรา คือ หนังสือที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน มีคนหลายๆ คนร่วมกันปรับปรุงวิกิตำราอย่างสม่ำเสมอ แม้แต่คุณก็แก้ได้ โดยบทความจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกๆ การแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติ ซึ่งจะเก็บไว้ทุกครั้งและตลอดไป


วิกิคำคม ( http://th.wikiquote.org/wiki/ ) วิกิคำคม แหล่งรวบรวมคำคม สุภาษิตและคำพังเพยจากทั่วโลกในทุกภาษา วิกิคำคมเป็นหนึ่งในโครงการของวิกิมีเดีย โครงการวิกิคำคมเปิดโอกาสให้ทุกคน สามารถเขียนคำคมที่ชื่นชม คำคมจากบุคคลที่สำคัญ ได้อย่างเต็มที่


วิกิซอร์ซ (http://th.wikisource.org/wiki/ ) แหล่งรวบรวมและจัดเก็บเอกสารต้นฉบับที่สามารถนำไปอ้างอิงได้ เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติ เอกสารทางราชการอื่น ๆ


วิกิข่าว (http://th.wikinews.org/wiki/) แหล่งข่าวเนื้อหาเสรี โดยกลุ่มอาสาสมัครซึ่งมีภารกิจเพื่อสร้างเว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัย, ตรงประเด็น, น่าสนใจ และให้ความเพลิดเพลินโดยปราศจากอคติ เนื้อหาทั้งหมดอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต โดยการทำให้เนื้อหาของเราสามารถนำไปเผยแพร่และนำไปใช้ต่อได้


วิกิพจนานุกรม (http://th.wiktionary.org/wiki/ ) วิกิพจนานุกรม คือ แหล่งรวบรวมและเก็บคำศัพท์เสรี


วิกิสปีซีส์ (http://species.wikimedia.org/wiki ) สารบบอนุกรมวิธานหรือวิกิสปีชีส์เป็นโครงการของ มูลนิธีวิกิมีเดีย โดยเป็นสารานุกรมเสรีเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งรวมถึง สัตว์ พืช เห็ดรา แบคทีเรีย อาร์เคีย โพรทิสตา และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ขณะนี้มีบทความทั้งหมด 93,896 บทความ


คอมมอนส์ ( http://commons.wikimedia.org/wiki/ ) วิกิมีเดียคอมมอนส์ เป็นโครงการหลายภาษา เพื่อให้บริการคลังข้อมูลกลางสำหรับภาพ ดนตรี เสียง และวีดิทัศน์ลิขสิทธิ์เสรี และอาจรวมถึงข้อความและคำพูด เพื่อใช้ในหน้าเอกสารในโครงการต่าง ๆ ของวิกิมีเดีย ภาพทุกภาพที่เก็บในคอมมอนส์จะสามารถเรียกใช้ได้ จากหน้าเอกสารของโครงการวิกิมีเดียทุกโครงการ


เมต้าวิกิ (http://meta.wikimedia.org/wiki/) เมต้าวิกิ คือ ศูนย์กลางโครงการวิกิมีเดียที่เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับ โครงการทั้งหมดในองค์กรวิกิมีเดีย รวมถึง วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีสำหรับทุกคน และ ซอฟต์แวร์ มีเดียวิกิ ที่เป็นซอฟท์แวร์ในการพัฒนาทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับมูลนิธิ, บันทึกและข้อเขียนอื่นซึ่งมีผลโดยตรงต่อโครงการนี้


ข้อดีของ Wiki

1. วิกิจะแตกต่างจากระบบการจัดการเนื้อหาอื่นๆ ในส่วนของการโต้ตอบ ซึ่งเห็นได้จากระบบของกระดานสนทนาออนไลน์หรือบล็อก จะอนุญาตให้ผู้อื่นโต้ตอบโดยการส่งข้อความต่อท้าย และไม่สามารถมีส่วนร่วมในส่วนของเนื้อหาหลักได้ แต่วิกิจะอนุญาตให้ทุกคนมีสิทธิ์ในการแก้ไขในเนื้อหาได้โดยเสรี และติดตามผู้แก้ไขเนื้อหาได้ เป็นการร่วมมือกันสร้างองค์ความรู้และเรียนรู้ร่วมกัน
2. ด้านเนื้อหาของสารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไข รวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม
อย่างไรก็ตามการนำไปใช้อ้างอิงในเอกสารทางวิชาการยังคงเป็นข้อถกเถียงเนื่องจากการเปิดโอกาสให้ทุกคนแก้ไข ซึ่งง่ายต่อการปรับเปลี่ยนข้อมูล เมื่อผู้ประสงค์ร้ายที่มือบอนเข้าไปทำลายข้อมูลหรือสิ่งดีๆ ในวิกิพีเดีย ยังเป็นปัญหาที่เกิดบ่อย แม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ก่อการร้ายเหล่านั้นจะถูกจับได้ และมีการเข้าไปแก้ไขเนื้อหาเพิ่มเติมที่ไม่ถูกต้องเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้วิกิพีเดียที่ทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล่าสุด ความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดียได้ถูกทำการทดสอบ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ได้มีทีมนักวิจัยทดสอบความถูกต้องของวิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบกับสารานุกรมบริเตนนิกา สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนำเรื่องราวเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ไปทดสอบ ผลลัพธ์ที่ออกมาสรุปว่าความถูกต้องใกล้เคียงกัน โดยมีการผิดพลาดทางข้อมูลและการใช้ภาษาใกล้เคียงกัน (http://th.wikipedia.org/wiki)
3. เนื้อหาข้อความทั้งหมดในวิกิพีเดียเป็นเนื้อหาเสรี งานสมทบที่ส่งมายังวิกิพีเดียทุกชิ้นถูกคุ้มครองโดยสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของ GNU "GNU Free Documentation License" หรือ GFDL ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาอนุญาตชนิด "copyleft" ที่ให้สิทธิ์นำเนื้อหาไปแจกจ่ายซ้ำ, ดัดแปลงต่อยอด, และนำไปใช้งานได้อย่างเสรี ทั้งนี้รวมถึงการใช้งานเชิงพาณิชย์ด้วย. สัญญาอนุญาตตัวนี้ อนุญาตให้ผู้ร่วมเขียนวิกิพีเดียแต่ละคนยังคงมีสิทธิ์ในงานที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปต่อยอดและแจกจ่ายงานต่อยอดนั้นต่อได้ เพียงมีเงื่อนไขว่าจะต้องให้เครดิตกับเจ้าของงานดั้งเดิม และงานต่อยอดนั้นจะต้องใช้สัญญาอนุญาต GFDL เช่นเดียวกัน. ด้วยสัญญาอนุญาตตัวนี้ ทำให้รับประกันได้ว่าวิกิพีเดียจะถูกแก้ไขได้อย่างเสรีและอย่างเท่าเทียมกัน; การสมทบงานของผู้เขียนแต่ละคน จะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลตราบนานเท่านาน. แลร์รี แซงเจอร์ เคยกล่าวถึง การใช้ GFDL ไว้ว่า “การรับประกันเสรีภาพ เป็นแรงจูงใจสำคัญในการทำงานสารานุกรมเสรี (
http://th.wikipedia.org/wiki/)
ข้อจำกัดของ Wiki
1. ความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเนื้อหาที่นำเสนอจากผู้เขียนที่เปิดให้แก้ไขปรับปรุงโดยเสรี อาจยังไม่เป็นที่ยอมรับในด้านวิชาการเหมือนกับเอกสารสิ่งพิมพ์ เช่น สารานุกรม

2. ในเว็บไซต์ประเภท Wiki ไม่สามารถกรองเนื้อหาประเภทขยะออกได้ ทำให้ผู้นำไปใช้อาจได้ข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้ หรืออาจเกิดความเสียหายในการนำไปใช้

การประยุกต์ใช้ Wiki ในการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง นวัตกรรมของ Wiki ซึ่งเป็นเว็บไซต์ประเภทเปิดเสรีให้สมาชิกเข้าร่วมสร้าง เสนอเนื้อหา และแก้ไขเอกสารต่าง ๆ ได้อย่างเสรี โดยใช้ซอฟต์แวร์บริหารจัดการเว็บไซต์ คือ MediaWiki (www. mediawiki.org) ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทย ได้มีการนำนวัตกรรมของ Wiki มาใช้ในองค์กรอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ดูแลและพัฒนาโดย มูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation Inc.) คือองค์การแม่ของโครงการ วิกิพีเดีย วิกิพจนานุกรม วิกิตำรา วิกิคำคม วิกิสปีชีส์ วิกิซอร์ซ วิกิข่าว และ วิกิมีเดียคอมมอนส์ มูลนิธิวิกิมีเดียเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่จัดขึ้นภายใต้กฎหมายของ มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา, ประกาศอย่างเป็นทางการโดย วิเกีย (ผู้บริหารใหญ่องค์กร) และ จิมมี่ เวลส์ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2546
จากการศึกษานวัตกรรมของ Wiki สามารถสรุปเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. Wiki เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง เนื่องจาก Wiki เป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหาด้านต่าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้รู้ หรือผู้มีประสบการณ์ เนื้อหาต่าง ๆ มีการตรวจสอบโดยผู้เขียนหลายคนร่วมมือกัน ดังนั้น เนื้อหาที่ได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีความถูกต้อง สมบูรณ์ ดังนั้น แหล่งข้อมูลในเว็บไซต์ประเภท Wiki จึงสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอ้างอิงในการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่งได้
2. ใช้ Wiki เป็นเครื่องมือในการสร้างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ได้ เนื่องจากหลักการของ Wiki คือการให้เสรีแก่ผู้ใช้ ในการสร้างและแก้ไขเนื้อหา ในระบบอีเลิร์นนิ่งจึงใช้ Wikiเป็นเครื่องมือในการสร้างกิจกรรมการการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น
Workgroup Assignment - การมอบหมายงานเป็นกลุ่ม
Project-Based Learning - การเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน
Constructivist Paradigm - การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างองค์ความรู้
Cooperative/Collaborative Paradigm - การเรียนรู้ร่วมกันหรือการเรียนแบบร่วมมือกัน
3. ใช้ Wiki เป็นเครื่องมือในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร ทั้งประเภทองค์ความรู้ประเภท Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge รวมทั้งนำไปใช้ในการจัดการองค์ความรู้เฉพาะกลุ่มที่สนใจในด้านเดียวกัน
 
 

RSS คืออะไร อยากรู้ตามมาดู


จะว่าไปแล้ว เทคโนโลยีนี่ ก็ทำให้อะไรง่ายขึ้นเยอะเลยนะครับ อย่างนึงที่เข้ามาช่วย webmaster นั่นก็คือ RSS นั่นเอง
หลายคนอาจจะสงสัย ว่า RSS คืออะไร RSS ก็ย่อมาจาก Real Simple Sex! นั่นเอง... เย้ยยยย ล้อเล่นนะครับ 555 ขำๆครับ เพื่อเป็นทางการนิดนึงผมก็ขอ คัดลอก คำนิยาม มาจาก www.rssthai.com แล้วกันนะครับ ได้ดังนี้
RSS ย่อมาจากคำว่า Really Simple Syndication หรือ Rich Site Summary เป็นรูปแบบในการนำเสนอข่าวหรือบทความ ให้อยู่ในรูปแบบมาตราฐาน xml เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารใหม่ๆได้ทันที
พอจะเข้าใจใหมครับ ถ้าไม่เข้าใจ ไม่เป็นไร ผมจะอธิบายต่ออีกที ว่า RSS คืออะไร ครับ
ในความคิด และเท่าที่ผมเองก็ได้สัมผัสมานะครับ และเป็นการอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ RSS คือ การดึงข่าว หรือ ข้อมูล หรือบางอย่าง ที่ทางผู้พัฒนา (ต้นฉบับ) เค้าเปลี่ยนแปลง โดยที่ ทางเรา(ผู้เสนอ หรือ แสดง) ก็เปลี่ยนในทันทีโดยอัตโนมัต เช่น ผม ทำเว็บ RSS-A(ชื่อสมมุติ) ซึ่ง ในเว็บมีบริการ RSS ด้วย แล้วเพื่อนผม เค้าทำเว็บ RSS-B เค้าก็มาเอา RSS จากเว็บผมไปใช้ ในเว็บตัวเอง และเมื่อผม Update เนื้อหา RSS ในเว็บผม ในส่วนของ RSS ที่เว็บเพื่อนผม ก็จะถูก Update ไปด้วยในทันที โดยที่เพื่อนผมไม่ต้องทำอะไรเลย แค่เอามาติดครั้งแรก แล้วก็จบเลย ที่เหลือ รอให้ผม หรือเว็บ RSS-A เป็นคนเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในส่วน RSS ต่อไปนั้นเอง




พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ความเป็นมาของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า

ความหมาย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
• แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
• ปัจจัยทางการบริหาร
• โครงสร้างพื้นฐาน

ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้
• สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
• สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)


 
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น