http://thaicursor.blogspot.com  getcode

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

World Wide Web








เวิลด์ไวด์เว็บ
ป็น บริการข้อมูลข่าวสารแบบสื่อผสม ที่ประกอบไปด้วย ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ เสียง ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่ดึงดูดให้ผู้คนส่วนใหญ่ เข้ามา ใช้บริการกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ เวิลด์ไวด์เว็บยัง เป็นเครื่องมือช่วยให้เรา สามารถ ค้นหารายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบเกือบทุกเรื่อง สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลา รวมทั้งเรายังสามารถ เผยแพร่เอกสารที่เราจัดทำ ไปให้ผู้คนทั่วโลกโดยผ่านทาง เวิลด์ไวด์เว็บ ได้เช่นกัน โดยเสียค่าใช้จ่าย ถูกกว่า การตีพิมพ์บนกระดาษ หรือบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เวิลด์ไวด์เว็บ จึงเป็นต้นเหตุสำคัญ ทำให้ สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้คนทั่วโลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวดเร็ว


ภาพตัวอย่าง : www.hotmail.com


เวิลด์ไวด์เว็บ คืออะไร

เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้น หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม หรือมัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง
ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม
จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก




เวิลด์ไวด์เว็บ มีอะไร

เว็บเพจและโฮมเพจ
เอกสารข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ เรื่องหนึ่ง ๆ ใน เว็บไซต์ จะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ คล้ายหนังสือ เล่มหนึ่ง แต่ละหน้า เรียกว่า เว็บเพจ (web page) ข้อมูลในเวบเพจเป็นเอกสารแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ เขียนขึ้นด้วยภาษา HTML แบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนที่เป็นตัวข้อมูล และส่วนที่เป็น ตัวเชื่อม (link) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง (เมื่อนำเมาส์ไปชี้บางครั้งจะปรากฏเห็นเป็นรูปมือ) เราเรียกข้อมูลที่มีตัวเชื่อมนี้ว่าเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) เว็บเพจหน้าแรกของเอกสารบนเวิลด์ไวด์เว็บ เรียกว่า โฮมเพจ (home page)ซึ่งเปรียบ เสมือนหน้าแรก หรือหน้าปกของหนังสือ เป็น ส่วนที่ใช้บอกชื่อเรื่องของเอกสารข้อมูล ส่วนสำคัญ ในหน้าที่เป็นโฮมเพจ คือหัวข้อเรื่องของเอกสารข้อมูล หรือสารบัญ ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ที่จะเชื่อมโยงไปยัง รายละเอียดที่อยู่ในหน้าอื่น ๆ ต่อไป นอกจากนี้ ก็จะมี ชื่อเจ้าของโฮมเพจ พร้อมทั้งที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และอาจจะมีคำชี้แจงเบื้องต้นด้วย



เว็บเซิร์ฟเวอร์

เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งอาจจะใช้ระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Windows NT ก็ได้ และมีโปรแกรมประเภท HTTPD ทำหน้าที่คอยบริการจัดส่งเอกสารข้อมูล ให้กับผู้ที่ติดต่อขอผ่านมาทางเว็บบราวเซอร์

เว็บไซต์

เว็บไซต์ (web site) หมายถึงตำแหน่งที่เก็บข้อมูลที่เป็น เว็บเพจ ต่าง ๆที่เจ้าของระบบ ได้จัดเตรียมไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่ละเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีวิธีการระบุที่อยู่ (address) ของตัวเองไม่ให้ซ้ำกับผู้อื่น วิธีการระบุที่อยู่ของเว็บไซต์นี้เรียกว่า รหัสสืบค้น (Uniform Resource Locator หรือ URL) ส่วนแรกของ URLเป็นโปรโตคอล http ที่จะบอกลักษณะ ของข้อมูล ว่าเป็นแบบเวิลด์ไวด์เว็บคั่นด้วยเครื่องหมาย :// และส่วนที่สอง ใช้บอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลนั้น ๆ เช่น


ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฮเปอร์ลิงก์ และ ไฮเปอร์มีเดีย

ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) คือ คำหรือวลีเรืองแสงหรือมีสีแตกต่างจากข้อความธรรมดา หรือ มีการขีดเส้นใต้ในเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ถ้าใช้เมาส์ชี้ที่ ไฮเปอร์เท็กซ์จะเห็นเป็นรูปมือ และเมื่อคลิกเมาส์ที่ไฮเปอร์เท็กซ์ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นซึ่งอาจจะเป็นจุดอื่นในไฟล์เดียวกัน หรืออาจจะเชื่อมโยงไปยัง ไฟล์เอกสารอื่น หรือเว็บไซต์อื่น การเชื่อมโยงดังกล่าว เรียกว่า
ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink)
ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์
ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia)
หมายถึง ส่วนที่เพิ่มเติมจากไฮเปอร์เท็กซ์ นั่นคือนอกเหนือ จากการเชื่อมโยงข้อมูลในแบบตัวอักษรแล้ว เรายังสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอ เสียง ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว
ได้ด้วย

โปรแกรมเว็บบราวเซอร์

เว็บบราวเซอร์ (web browser) คือโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ที่ทำหน้าที่ติดต่อกับ เว็บเซอร์เวอร์ เพื่อขอดูเอกสารข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ เมื่อได้รับแฟ้มเอกสารที่ขอไป ก็นำมาแสดงบนจอภาพ เราเรียกรายละเอียดของเอกสารข้อมูล
ที่เว็บบราวเซอร์นำมาแสดงบนจอว่า เอกสารเว็บ
(web document)
ในปัจจุบัน มีบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต่าง ๆ หลายราย
ได้พัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ออกมาให้ใช้งานกันมากมาย และเพิ่มขึ้นทุกขณะ เช่น
NCSA Mosaic, Cello, Netscape Navigator, Internet Explorer, HotJava, และ Win Web เป็นต้น




หัวข้ออื่นๆ ในหน้าต่าง Internet Options

หัวข้อ Security จะเป็นการกำหนดระดับของการรักษาความปลอดภัย ในการใช้งาน Internet ซึ่งควรปรับไว้ที่ Default Level สำหรับงานทั่วไป

หัวข้อ Content ส่วนที่ควรตั้งค่าไว้คือ ช่อง AutoComplete ใช้สำหรับการลบตัวอักษรที่จะจำอยู่ในแบบฟอร์ม เช่นอีเมล์ หรือรหัสผ่านต่าง ๆ ที่เคยเก็บไว้ โดยส่วนอื่น ๆ นอก AutoComplete แล้วนั้น มีการใช้งานน้อยมาก

หัวข้อ Connections หัวข้อ Connection จะเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ของการเชื่อมต่อเครือข่าย ซึ่งผู้ใช้สามารถทำการปรับแต่งค่าต่าง ๆ เช่นการตั้ง username และ password การเลือก Default Connection การลบ หรือเพิ่ม Connection ในนี้ได้ และเมื่อต้องการเชื่อมต่อเข้ากับวง LAN และปรังตั้งค่าต่าง ๆ ให้เลือกที่ LAN Setting ด้านล่างด้วย



หัวข้อ Advanced จะเป็นการตั้งค่าอื่น ๆ ต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปก็คงจะไม่จำเป็นต้องตั้งค่าในส่วนนี้



บรรณานุกรม

[1] ต้น ตัณฑ์สุทธิวงศ์, สุพจน์ ปุณณชัยยะ, สุวัฒน์ ปุณณชัยยะ, รอบรู้ Internet และ
World Wide Web, โปรวิชั่น, กรุงเทพมหานคร, 2539.
[2] พรทิพย์ โล่ห์เลขา, World Wide Web : เครื่องมือใช้ Internet สำหรับทุกคน,
อุษาการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร, 2540.
[3] สิทธิชัย ประสานวงศ์, Internet ปฏิบัติด้วย Netscape Communicators 4,
ซอฟท์เพรส, กรุงเทพมหานคร, 2541.
[4] Hahn, Harley and Rick Scout, The Internet Complete Reference,
Osborne McGraw-Hill, Berkley, CA., 1994.
[5] Lemay, Laura. Teach Yourself Web Publishing with HTML in a week,

Sams Publishing, Indianapolis, IN., 1995.

http://seashore.buu.ac.th/~wichai/101course/Internet/www.htm











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น